Thursday, August 20, 2009

การจัดการสิ่งแวดล้อม

ความหมายและความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม
ความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการแผ่กระจายทรัพยากรที่สำคัญทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความพอใจในการนำไปใช้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ต้องเป็นการดำเนินการอย่างมีระบบในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อจะมีทรัพยากรใช้ได้ตลอดไป
ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาเป็นแนวทางวางแผนการจัดการ และปฏิบัติโดยสามารถพยากรณ์สภาพปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการลงมือปฏิบัติดำเนินโครงการพัฒนาหรือเตรียมแผนไว้ใช้ระหว่างและหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาระบบ โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ทั้งนี้สามารถคาดคะเนทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
หลักการและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- มุ่งการใช้ทรัพยากรให้ยั่งยืนยาวนาน
- ใช้ทรัพยากรโดยเพิ่มจำนวน และรักษาจำนวนที่มีอยู่
- รู้จักการหมุนเวียนทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
- ควบคุมของเสียและมลพิษที่เกิดขึ้น
- รักษา , สงวน , ปรับปรุง , ซ่อมแซม , พัฒนาการใช้ทรัพยากร
- ควบคุมระบบนิเวศให้อยู่ในสมดุลธรรมชาติ
- ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดี
หลักเกณฑ์ในการวางแผนการจัดการยึดหลักอนุรักษ์วิทยาโดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
- การใช้อย่างสมเหตุสมผล ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามีผลเสียน้อยที่สุด
- การปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือสูญหาย
- การประหยัดในส่วนที่ควรสงวนไว้
คำนึงถึงการใช้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อนในพื้นที่ป่า
- ทรัพยากรที่นำออกจากระบบ คือ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งนำออก (Output) หลังจากมีโครงสร้างการพัฒนาเข้าสู่ระบบ เช่น คน, ต้นไม้ ฯลฯ
- ทรัพยากรที่นำเข้ามาใช้ในระบบ คือ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งนำเข้า (Input) นำเข้าสู่ระบบ เช่น เครื่องจักร ฯลฯ
- ทรัพยากรที่ใช้ในระบบ คือ ทรัพยากรที่มีใช้อยู่เดิมในระบบ เช่น คน, บ้านเรือน, ต้นไม้ ฯลฯ
- ทรัพยากรที่ใช้นอกระบบ คือ ทรัพยากรที่อยู่นอกระบบแต่มีความเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบและการทำงานในระบบ เช่น ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของชุมชน

ขั้นตอนการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตั้งจุดประสงค์สุดยอด (Goal)
3.1) วัตถุประสงค์ : ความต้องการ
3.2) เป้าหมาย : บอกขนาดและทิศทาง ให้เห็นรูปธรรม
3.3) นโยบาย : หลักการ แผนงาน แนวทางการดำเนินงาน
3.4) มาตรการ : แนวทางการควบคุม
3.5) แผนงาน : การกำหนดงานหรือสิ่งที่ต้องทำ
3.6) แผนปฏิบัติการหรือโครงการ : กำหนดกิจกรรมของงานและขั้นตอนการดำเนินงาน ระบุผู้รับผิดชอบงบประมาณ เวลา สถานที่ โดยละเอียด

การจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทสไทย
มีข้อจำกัดหลายประการดังรวบรวมได้เป็นปัญหาในการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐดังนี้
1. ประชาชนขาดความรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หน่วยงานขาดการประสานงานที่ดี
3. ขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรฯ แบบผสมผสาน
4. มีการใช้ทรัพยากรฯ มากเกินไป จนไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้
5. ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกันไม่ให้เกิดมลพิษ
6. ขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณในการแก้ปัญหา
7. ระบบบริหารทรัพยากรฯ ในประเทศไทยขาดประสิทธิภาพ
8. ขาดความศักดิ์สิทธิทางกฎหมาย
ฯลฯ

หน่วยงานที่เกียวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
ภาครัฐบาล ได้แก่
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ป่าไม้ คือ กรมอุทยานแห่งชาติ-สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและกรมป่าไม้
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ภาคเอกชน ได้แก่
- สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- มูลนิธิต่าง ๆ เช่น ตาวิเศษ , ช้าง , สัตว์ป่าพรรณพืช ฯลฯ
- ชมรมอนุรักษ์ ฯ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น
หน่วยงานและองค์กรทางสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ
- UNEP หรือองค์กรสิ่งแวดล้อมโลก (UNITED NATIONS ENVIRONMENT PROGRAMME) ขึ้นกับ UNESCO มีประเทศสมาชิกทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ มีการจัดประชุมสิ่งแวดล้อมโลกครั้งแรกที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล และกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี
- NETTLAP (NETWORD FOR ENVIRONMENTAL TRAINING AT TERITARY LEVEL IN ASIA AND THE PACIFIC) เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในด้านทุนวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
ว่าที่ร้อยตรีหญิงยุวดี กวาตระกูล. สังคมกับสิ่งแวดล้อม.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

8 comments:

Biophysics said...

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ค่ะ

Biophysics said...

ช่วยหนุได้มากเลยค่ะ

Biophysics said...

เนื้อหาสรุปก่อนสอบดีมากครับ

Happiness said...

รู้วิธีจัดการธรรมชาติแล้วครับ

นาย อนุสรณ์ สุกิจโกวิท ตตบ52/2 เลขที่6

วรรณิศา said...

เข้ามาอ่านแล้วนะค่ะ เนื้อหาเยอะมากๆค่ะ แต่ก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

นางสาวทอรุ้ง กาฬภักดี เลขที่26 ตตบ.52/2

พรรณิภา น้อยพานิช said...

หนูได้รับความรู้มากมายเลยค่ะ


เนื้อหาของอาจารย์อ่านแล้วสนุกดีค่ะ



นางสาวพรรณิภา น้อยพานิช ตตบ 52/2 เลขที่ 25

อรอุมา said...

ดีมากเลยคะอาจารย์
อ่านแล้วสนุกคะ
ได้ความมรู้หลายๆอย่าง


นางสาวอรอุมา เจริญรูป ตตบ52/2 เลขที่11

ปัทมาภรณ์ ผ่องภิรมย์ ตตบ.52/1เลขที่ 25 said...

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตอนนี้กำลังตั้งใจทำข้อสอบของอาจารย์อยู่ค่ะ