Wednesday, August 19, 2009

มลพิษทางน้ำ



น้ำที่มลพิษแปดเปื้อนเกินขีดจำกัดหรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากธรรมชาติทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต สถานภาพของน้ำเสีย มีทั้งที่เห็นด้วยตาเปล่าได้และไม่เห็นด้วยตาเปล่าแยกตามลักษณะคุณภาพน้ำ 3 กลุ่ม ดังนี้
- น้ำเสียทางกายภาพ (Physical Watsewater)
ได้แก่ การจัดคุณภาพของปัจจัยเหล่านี้
ก ) อุณหภูมิ (Temperature) คุณสมบัติ : คือเป็นอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป โดยปกติแหล่งน้ำจะ มีอุณหภูมิที่ 20-36 องศาเซลเซียส
ข ) สีและความขุ่น (Color and Turbidity) คุณสมบัติ : คือมองเห็นได้ง่ายว่ามีสีเปลี่ยนไป มีสารแขวนลอยหรือสาร ละลายเจือปนอยู่ ทำให้แสงส่องผ่านได้น้อยมีผลต่อพืชน้ำ โดยค่าสีปกติมีค่า 11-18 หน่วย
ค ) กลิ่น (Odor) คุณสมบัติ : น้ำตามธรรมชาติไม่มีกลิ่น แต่น้ำเสียจะมีกลิ่นสารเคมีหรือกลิ่น ของเน่าเปื่อยกลิ่นไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น
ง ) รส (Taste) คุณสมบัติ : ทั่วไปรสจืด แต่น้ำเสียจะมีรสเปรี้ยวหรือเค็ม ยกเว้นน้ำเค็ม บางครั้งอาจไม่เสีย เช่น ทะเล
จ ) ความเป็นกรด - ด่าง (pH) คุณสมบัติ : ปกติมีค่า pH 6.5-8.5 ค่าความเป็นกรด - ด่างเปลี่ยนแปลงไปส่วนมากเป็นปัญหาจากโรงงานอุตสาหกรรม
ฉ ) การนำไฟฟ้า (Electical Conductivity) คุณสมบัติ : ขึ้นกับความเข้มข้นของสารละลายในน้ำ โดยน้ำตามธรรมชาติมีค่าการนำไฟฟ้า 0.1-5 มิลลิโวลท์แต่หากมีค่าสูงกว่า 3 มิลลิโวลท์ / ซม . จะมีผลเสียต่อสัตว์ พืชน้ำ
ช ) ของแข็งในน้ำ (Tatal Solids) คุณสมบัติ : เป็นสารแขวนลอย (Supended Solids) และสารละลายน้ำได้ (Dissolved Solids) โดยทั่วไปน้ำบริโภค มีของแข็ง 20-100 มิลลิกรัม / ลิตร ในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีของแข็ง 100/500 มิลลิกรัม / ลิตร และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีของแข็ง มากกว่า 1000 มิลลิกรัม / ลิตร
ซ ) อื่น ๆ คุณสมบัติ : ได้แก่ ความหนาแน่น ความหนืด ระดับความลึก

- น้ำเสียทางเคมี (Chemical Watse Water)
ก ) โลหะหนัก (Heavy Metals) คุณสมบัติ : เป็นผลึกบริสุทธิ์มีความเป็นพิษเล็กน้อย บางตัวมีสารประกอบที่มีความดันไอสูง จะอันตรายมาก เช่น เมธอล สำคัญมาก 3 ธาตุ คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม ส่วนมากพบสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ในธรรมชาติเกิดจากการสลายตัวของหิน แต่มีปริมาณน้อยไม่อันตราย
ข ) สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive Elements) คุณสมบัติ : เกิดปัญหามากในต่างประเทศ โดยปกติมีในธรรมชาติ แต่มีปริมาณน้อย เช่น พื้นดินบางแห่งส่วนมากพบจากโรงงานปรมาณู
ค ) วัตถุมีพิษ (Pesticides) คุณสมบัติ : สารเคมีที่ใช้ฆ่าพืชและสัตว์ ที่เป็นศัตรูต่อพืชและสัตว์ที่นิยมใช้ ได้แก่ กลุ่มคลอริเนตเตดไฮโดรคาร์บอน คุณสมบัติใช้ กำจัดแมลงและ ไรแดง เช่น DDT คลอเคน ลินเคน เอ็นดริน อัลริน ฯลฯ กลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต เช่น พาราไธออน ซูมิไธออน มาลาไธออน เมวินฟอส ไดอะซิโน ไดซีสตรอน กลุ่มบาคาร์บาเมต มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นน้อย เช่น คาร์บารีล เซวิน พิษสูงต่อผึ้ง ปลา กลุ่มยากำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย วัชพืช ไส้เดือนฝอย เช่น มีมากอน ทูโฟร์ที วัตถุมีพิษเหล่านี้จะถูก ชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากส่วนผักผลไม้ส่วนมากเป็นพวกดีลดริน DDT DDE

- น้ำเสียทางชีววิทยา (Biological Watse Water) คุณสมบัติ : มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นพิษต่อมนุษย์ สัตว์ พืช โดยไม่ทำให้น้ำเน่าเสียแต่เป็นพิษเมื่อถูกนำมาบริโภค หรือตัวของมันทำกิจกรรมแล้ว น้ำเน่าเสีย แบคทีเรีย ก่อให้เกิดโรคไข้รากสาด อหิวาห์ตกโรค โรคในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เชื้อโปรโตซัว บิด ไวรัส โปลิโอ ตับอักเสบ พยาธิ ไส้เดือนกลม พยาธิใบไม้ พยาธิลำไส้ พยาธิแส้ม้า เชื้อรา เศษไม้ใบไม้ ขยะมูลฝอย เป็นต้น สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก่อให้เกิดผลคือ
ก ) พิษต่อสุขภาพและอนามัย : โดยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง เช่น การบริโภคหรือสัมผัสทางผิวหนังหรือการหายใจและเข้าทางเส้นเลือดฝอย บางส่วนเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม
ข ) การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ : สาเหตุ : กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ก่อให้เกิดสารแขวนลอยที่เป็นสารอินทรีย์และอนินทรีย์ มีผลต่ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ซึ่งในน้ำปกติจะมีออกซิเจนที่ละลายในแหล่งน้ำ (DO) มากกว่า 7 มิลลิกรัม / ลิตร

สาเหตุของน้ำเสีย
- จากอาคารบ้านเรือนและชุมชนส่วนใหญ่มาในรูปของสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยอาจพิจารณาได้จากขนาดของชุมชนและสถานที่ตั้งชุมชน
- จากโรงงานอุตสาหกรรม ในกระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิต และขึ้นอยู่กับการควบคุมของรัฐบาล - จากการเกษตร ในกระบวนการเตรียมดิน การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวใน ขั้นตอนกระบวนผลิต พืชน้ำ สัตว์น้ำ ( เลี้ยง ) เช่น การปลูกผักระเฉด การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และการชำระล้างเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง
- จากการพักผ่อนหย่อนใจ ได้แก่ ประเพณีนิยม เช่น ลอยกระทง ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก การใช้สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยขาดจิตสำนึกเช่น การทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ
- จากการทำลายป่า ก่อให้เกิดการชะล้างผิวหน้าดิน และการพังทลายของดินได้ง่ายมีผลต่อคุณภาพน้ำทำให้มีตะกอนในแหล่งน้ำมากขึ้น
- จากการสาธารณสุข พบว่าสถานพยาบาลต่าง ๆ มีขยะที่มีเชื้อโรคและสารพิษ จำนวนมากและขาดการกำจัดที่ถูกต้อง เมื่อฝนตกอาจชะล้างเชื้อโรคและสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ หรือเกิดจากน้ำใช้จากสถานพยาบาลที่มีเชื้อโรคและสารพิษเจือปน
- จากการเลี้ยงสัตว์ พบว่ามูลของสัตว์ อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ หากกำจัดไม่ถูกวิธี ก่อให้เกิดโรคระบาดได้ นอกจากนี้ยังเกิดการพังทลายของดิน จากการเลี้ยงสัตว์ที่แทะเล็มพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะบริเวณริมตลิ่ง

ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
- ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการ ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และอาจทำให้เกิดมลพิษชนิดอื่นตามมาอีกด้วย โดยมีผลกระทบต่อ การอุปโภคบริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรม การประมง การสาธารณสุข ฯลฯ แนวทางแก้ไขและควบคุม
1) ใช้เทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย
2) เร่งรัดการควบคุมการระบายน้ำทิ้งและการบำบัด
3) จัดมาตรฐานน้ำทิ้งที่เหมาะสม
4) จัดระบบการเก็บขยะให้มีประสิทธิภาพสูง
5) กำหนดหรือ ออกกฎหมายให้อาคาร และสิ่งก่อสร้างบางประเภทมีระบบบำบัดน้ำเสีย
6) ป้องกันการรุกล้ำแหล่งน้ำ
7) ตรวจสอบคุณภาพน้ำ วิจัยแหล่งกำเนิดน้ำเสีย หาวิธีควบคุมและบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม
8) ควบคุมการเพิ่มประชากรในแหล่งชุมชน
9) เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำแก่คนทุกระดับ

3 comments:

sirithip said...

จากที่อ่านแล้ว...


มันอันตรายจริงๆเลยนะค่ะ


น้ำเสียเนี่ย...มันร๊าย ยยย ร้าย ยยยมากเลยคะ


มีผลกระทบหลายด้าน...


โอ๊ะ...โอ..นู๋มาคนแรกเลยหรอเนี่ย ....55+


น.ส.ศิริทิพย์ นิ่มหิรัญวงษ์ เลขที่ 42 ตตบ.52/1

วรรณวิศา said...

น้ำเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ

น้ำเสียสิ่งมีชีวิตก็ต้องตายหมด

เกิดมลพิษหลายด้าน

น่ากลัวจังค่ะ

วรรณวิศา ปตบ50/2เลขที่25

pleng said...

เดี๋ยวนี้มีแต่น้ำเสีย น้ำเน่าทั้งนั้น

เสียดายน้ำดีดีนะคะ

แย่จัง

นิตสา อณิสันฑ์ ตตบ ๕๒/๑ เลขที่ ๒๐