Wednesday, August 19, 2009

แนวคิดพื้นฐานทางนิเวศวิทยา

ความสมดุลของระบบนิเวศ หมายถึงสภาวะที่ระบบมีความเหมาะสมในการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตโดยแต่ละองค์ประกอบสามารถทำหน้าที่ของตนได้เป็นปกติ ทั้งนี้แม้ว่าระบบจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ไม่ทำให้โครงสร้างของระบบถูกทำลายหรือสูญเสียหายไปความหมายของความสมดุลในระบบนิเวศโดยกฎธรรมชาติของระบบนิเวศจะสามารถควบคุมองค์ประกอบที่สำคัญของระบบไว้ได้ให้อยู่ในระดับความสมดุลกันโดยสามารถปรับปรุงและซ่อมแซมทดแทนองค์ประกอบส่วนที่ขาดไปให้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ เช่น ในระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์สลับซับซ้อนมาก เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปบ้าง สิ่งมีชีวิตก็สามารถปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ได้เพราะปัจจัยธรรมชาติที่ซับซ้อนมากมายนั้นมีให้เลือกใช้ทดแทนกันได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมนุษย์ได้นำปัจจัยธรรมชาติมาใช้เพื่อสนองความต้องการในปัจจัยสี่และความต้องการที่เป็นส่วนเกินต่าง ๆ มากเกินไปจนขาดความสมดุลในระบบนิเวศ จึงเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่สุด
จัยที่มีผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นสภาวะหนึ่งจะเกิดขึ้นได้มีสิ่งที่ต้องคำนึงอย่างยิ่งในการพิจารณาหลายประการ และต้องพิจารณาว่าโครงสร้างหรือองค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นอยู่ในสภาวะใดในปัจจุบัน โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ชนิด ปริมาณ สัดส่วน การกระจาย
ชนิด (Diversity) : ในสิ่งแวดล้อมจะมีสิ่งต่าง ๆ ที่คละกันหลาย ๆ ชนิด เช่น ดิน หิน แร่ น้ำ ป่าไม้ คน ฯลฯ และในแต่ละชนิดนั้นสามารถกำหนดไปได้อีกว่า ส่วนย่อยอะไรบ้าง
ปริมาณ (Quantiy) : นอกจากมีความคละกันหลายชนิดแล้ว ยังมีในปริมาณที่แตกต่างกันเสมอ สัดส่วน (Proportion) : เป็นที่น่าสังเกตว่า สิ่งแวดล้อมทุกชนิดจะมีปริมาณที่แตกต่างกันก็จริงอยู่ แต่ถ้าจะให้อยู่ในภาวะสมดุลแล้วสิ่งแวดล้อมทุกชนิดจะต้องมีปริมาณที่ได้สัดส่วนกันเสมอมิฉะนั้นแล้วจะทำให้ระบบนิเวศนั้นไม่อยู่ในภาวะสมดุลได้
การกระจาย (Distribution) : แม้ว่าระบบสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีชนิด ปริมาณ และสัดส่วนที่เหมาะสมก็ตาม แต่ถ้าการกระจายของสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นอย่างดีและสม่ำเสมอทั่วระบบแล้ว ระบบนั้นอาจเกิดปัญหาได้
ธรรมชาติของการควบคุมระบบนิเวศตามทฤษฎีในระบบนิเวศ สังคมใดๆในธรรมชาติจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการควบคุมให้องค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบอยู่ในภาวะที่สมดุลซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมในระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องได้เพราะสิ่งมีชีวิตในระบบจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมหรือรักษาสภาพตัวเอง (self maintenance)
- มีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือควบคุมตัวเอง (self regulation)
- ความสมดุลในระบบหรือการคงสภาพ (homeostasis)
- ไม่มีประชากรหรือสิ่งมีชีวิตมากเกิน Carrying Capacity หรือสมรรณนะการยอมมีได้
- มีปัจจัยจำกัด (Limiting Factor)
- ศักยภาพทางชีวภาพ (Biological Ptential)
- ความทนทาน (Limit of Tolerance) หรือช่วงความทนทาน (Tolerance Range) ที่ต่างกัน
- ระบบจะมีการเปลี่ยนแปลง (Dynamism) ไปตามกาลเวลาและสถานที่
- มีความยืดหยุ่นทางชีวภาพ (Biological Magnification) ที่ต่างกัน
- ความต้านทานทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Resistance)
- ปัจจัยชดเชย (Compensation Factor)
- ปัจจัยการอยู่ร่วมกัน (Holocenotic Facor)
ดังกล่าวมาข้างต้นจะพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ทั้งยังขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสถานที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ อาจกล่าวได้ว่าระบบนิเวศสามารถเปลี่ยนจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะของระบบออกเป็น 4 สภาวะ ได้แก่
1) สภาวะสมดุลธรรมชาติ : ระบบดำเนินกิจกรรมตามปกติ
2) สภาวะเตือนภัย : ระบบเริ่มมีสภาพปัญหามีแนวโน้มจะขยายเพิ่มขึ้น3) สภาวะระวังภัย : ระบบปัญหารุนแรงมากขึ้นและลุกลาม ถึงขั้นมีสิ่งมีชีวิต ตายลง
4) สภาวะวิกฤต : ระบบไม่เอื้ออำนวยต่อการมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ทั้งนี้เชื่อว่า ระบบนิเวศจะมีกลไกธรรมชาติที่พยายามปรับสมดุลอยู่เสมอ จึงอาจหมุนเวียนสภาวะต่าง ๆ ได้ไม่ตายตัว ตราบใดที่โครงสร้างและหน้าที่ของระบบยังไม่สูญสลาย ระบบนิเวศนั้นยังคงต่อสู้เพื่อความอยู่รอด


Find out more about the Census of Marine Life and the Ocean Biogeographic Information System

ที่มา: YouTube

6 comments:

Ponlakrit said...

ชอบมากๆ ครับ เนื้อหาดีเหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย ขอบคุณที่เขียน web ที่เป็นแหล่งความรู้ให้กับกระผม ขออนุญาตส่ง link ไปให้เพื่อนๆ ดูด้วยนะครับ

หน่อย said...

^-^ เนื้อหาดีม๊ากมากเลยคะ..แต่ฟังอังกฤษไม่ออกอะคะ ^-^

...กุสุมา บัวหอม เลขที่ 4 ตตบ 52/2...

ha_aui said...

ฟังออกนิดหน่อยค่ะอาจารย์ขา...(--")

วรินทร์ทิพย์ ตตบ.52/1

pleng said...

พึ่งสมัครค่ะอาจารย์

เดี๋ยวเย็นนี้กลับไปฟังนะคะ

^^

Oo aor monster oO said...

หนูเข้ามาฟังครั้งแรก


ยังฟังไม่ออกเลยค่ะ


แต่จะพยายามมาฟังบ่อยๆนะคะ


น.ส.อรดา พิมพ์โพธิ์ เลขที่ 10 ตตบ.52/1

Nipaporn (PUOY) said...

อาจารย์ค่ะฟังไม่รู้เรื่อง

ส่งสัย เน็ตบ้านหนูมีปัญหา

โหลดอย่างช้าเลยค่ะ

เดียวกลับมาฟังใหม่ค่ะ

น.ส นิภาพร สมคิด ตตบ52/1