Thursday, August 20, 2009

การวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ความหมายและประเภทของระบบสิ่งแวดล้อม
ความหมายของระบบสิ่งแวดล้อม
ระบบ คือ กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่มีพฤติกรรมในภาวะแวดล้อมที่เหมือนกัน : กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โครงสร้างหรือสิ่งที่ทำขึ้นหรือแผนงาน กระบวนการ ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง INPUT และ OUTPUT ภายในเวลาที่กำหนด ฯลฯ เนื่องจากในแต่ละระบบมีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ตลอดเวลาและมีสิ่งไม่มีชีวิตเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ทำให้ระบบมีการไหลเวียนตลอดไม่หยุดนิ่ง จึงมีทั้งสิ่งนำเข้า (Input) และสิ่งนำออก (Output) หมุนเวียนอย่างมีความสัมพันธ์กัน สำหรับการวิเคราะห์ระบบและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบ คือ หน่วยของเขตหนึ่งที่ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์พฤติกรรมและเอกลักษณ์ร่วมกัน ที่มา: http://210.34.15.15/isexiamen/ise2009/images/airport05.jpg

ข้อสังเกตในการกำหนดขนาดของระบบเพื่อทำการศึกษาสิ่งแวดล้อม
1. ความต้องการศึกษา
2. สภาพภูมิศาสตร์
3. งบประมาณ
4. กำลังคน
5. เวลา
6. กฎหมาย

ประเภทของระบบสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของระบบสิ่งแวดล้อม มี 2 ลักษณะคือ
ระบบธรรมชาติ หมายถึง ระบบทเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น
- ระบบกายภาพ เป็นระบบที่ มีสิ่งไม่มีชีวิต เป็นองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่องค์ประกอบที่เป็น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น
- ระบบชีวภาพ เป็นระบบที่ มีสิ่งมีชีวิตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่องค์ประกอบที่เป็น คน สัตว์ พืช
ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึงระบบที่มีการกำหนดลักษณะตามความต้องการของมนุษย์ อาจเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ เป็นรูปธรรมหรือ นามธรรมก็ได้ มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็น องค์ประกอบ ตัวอย่างของระบบได้แก่
- ระบบเทคโนโลยี : เป็น Software, Hardware เช่น ระบบอุตสาหกรรม , ชลประทาน ฯลฯ
- ระบบสังคม : เน้นการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชน เช่น ระบบเมือง , ชนบท , การศึกษา ฯลฯ
- ระบบเศรษฐกิจ : มีความเกี่ยวข้องกับเงิน เช่น ระบบธนาคาร , กู้ยืม , ตลาด ฯลฯ ระบบการเมือง เป็น การได้มาซึ่งอำนาจ เช่น ระบบประชาธิปไตย , ทหาร , เผด็จการ ฯลฯ
- ระบบวัฒนธรรม เกี่ยวข้องกับ วิถีชีวิต แนวทางปฏิบัติของชุมชน เช่น ระบบรำไทย , ศาสนาพุทธ , วัฒนธรรมภาคเหนือ , ชาวเขา ฯลฯ

วิธีการวิเคราะห์ระบบสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้การวิเคราะห์ระบบสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างครอบคลุมและถูกต้อง ควรกำหนดขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดขอบเขตการศึกษา โดยระบบพื้นที่ที่จะศึกษาพร้อมปัญหาที่ต้องการศึกษา
2. การสำรวจเบื้องต้น เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของระบบนั้นๆ
3. สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับระบบ เพื่อทราบการลื่นไหลหรือความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในระบบที่จะศึกษา
4. เตรียมอุปกรณ์ และวิธีการสำรวจ โดยเตรียมให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการและสภาพพื้นที่
5. วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เลือกให้เหมาะสมกับสภาพข้อมูลที่เก็บมา
6. การประเมินผลข้อมูล ทำเพื่อทราบข้อสรุปที่ได้จากภาคสนาม
7. การวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อการระบบสิ่งแวดล้อม้เหมาะสมและตรงประเด็นกับปัญหาที่พบในพื้นที่ศึกษา

ความหมายและความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ความหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
มีความหมายได้ 2 ทาง คือ
1. กิจกรรมหรือการดำเนินงานค้นคว้าตรวจสอบและศึกษาสิ่งแวดล้อมทุกประเภทในระบบนิเวศ เพื่อช่วยให้การคาดคะเนว่าโครงการพัฒนาหนึ่งๆ ที่จะนำเข้าสู่สิ่งแวดล้อมนั้น จะเข้ากันได้กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในระบบนิเวศได้หรือไม่ ถ้าจะนำโครงการนั้นมาพัฒนาจะก่อให้เกิดผลดีผลเสียอะไรบ้าง และศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2. การจำแนกให้เห็นถึงผลกระทบทั้งทางด้านบวกและลบของโครงการต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณเท่าที่จะทำได้ และทำนายหรือประเมินขนาดความรุนแรงของผลกระทบของโครงการนั้นๆ โดยวิธีที่เป็นเหตุเป็นผลและเชื่อถือได้ และแปรผลให้สามารถสื่อสารเข้าใจเป็นข้อมูลแก่เจ้าของโครงการในระดับบริหารใช้ในการตัดสินใจได้ และใช้เผยแพร่แก่สาธารณชนในโอกาสต่อไป

ความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทยในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2521 ตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานะการพัฒนาประเทศ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปี พ.ศ.2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน 2535 ซึ่งได้กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 19 ประเภท ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำ ทำให้โครงการขนาดใหญ่หรือโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงมีการจัดทำรายงาน EIA ของโครงการทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณภาพชีวิต รวมทั้งหาทางเลือกหรือการป้องกันและลดผลกระทบอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีมาตรการติดตาม ตรวจสอบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม ทั้งในระยะก่อนดำเนินการ รายงาน ฯลฯ จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาที่จดทะเบียนกับ สผ. จะถูกนำเข้าคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเมื่อโครงการผ่านความเห็นชอบจะนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป

แนวความคิดและวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือ การจับกลุ่มใหม่ของสิ่งแวดล้อมทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีผลทำให้สิ่งแวดล้อมเดิมได้รับความกระทบกระเทือน จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ฟิสิกส์หรือ ชีวภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม

แนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1. การศึกษาก่อนการตัดสินใจในการพัฒนา เพื่อประเมินผลกระทบที่มีต่อคุณภาพของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต
2. ศึกษาปัญหาหลายๆ ปัญหาร่วมกันในการแสวงหาผลกระทบ หลังจากตัดสินใจดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
3. ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
• การวางแผน (Planing)
• การใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ (Use & Conservation natural resources)
• การควบคุมมลพิษ (Pollution control )

ผลสรุปการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
• โครงการพัฒนานั้นก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่ ถ้าเกิดผลกระทบเป็นผลกระทบในด้านใด ( บวก , ลบ )
• ผลกระทบเกิดจากกิจกรรมใดของโครงการ การเกิดผลกระทบนั้นเกิด มาก / น้อย
• สิ่งแวดล้อมใด / กลุ่มใด ที่ได้รับผลกระทบ มาก / น้อย
• สร้างแผนป้องกัน แก้ไข
• พัฒนาปรับปรุงโครงการ

13 comments:

ปกจ51/1 said...

ขอขอบคุณ อ.ที่ให้สาระดีๆกับหนูนะค่ะ

หนูชอบวิธีสอนของอ.มากค่ะ

น.ส.อภันตรี ปะสาวะนัง ปกจ 51/1 เลขที่ 2 ค่ะ

supijon said...

ได้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
การวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาดีคับ

supijon said...

ได้มาทำความเข้าในเกี่ยวกับ
การวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาดีคับ

นายรุ่งเรือง ผิวสำโรง เลขที่ 3 ห้อง ตตบ 52/2

supijon said...

ขอขอบคุณอาจารย์สลักจิตมากคะ ที่ทำให้หนูได้รู้จักกับธรรมชาติมากขึ้นกว่าเดิม อาจารย์เขียนสาระความรู้และให้รายละเอียดครบถ้วนดีคะ
นางสาว วรัญญา ขาวเจริญ ห้องตตบ.52/2 เลขที่ 33

bb said...

ภาพสวยดีคับ ให้อาหารปลาสนุกมากๆ

ปตบ.50/2 บี

วรรณวิศา said...

ขอบคุณค่ะอาจารย์

วรรณวิศา ปตบ50/2เลขที่25

Happiness said...

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาครับ

เข้าใจได้ดีเลยครับ

นาย อนุสรณ์ สุกิจโกวิท ตตบ52/2 เลขที่ 6

Nipaporn (PUOY) said...

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่หนูและเพื่อน ๆ

วิชานี้เรียนเข้าใจง่าย อาจารย์สอนสนุกและยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนอีก

เพราะไม่ต้องใช้หนังสือ

นิภาพร สมคิด เลขที่17 ตตบ.52/1

ปัทมาภรณ์ ผ่องภิรมย์ ตตบ.52/1 เลขที่ 25 said...

หนูเรียนกับอาจารย์แล้วสนุกแบบมีสาระมากค่ะ

อาจารย์จะสอดแทรกความรู้ไปกับการทำกิจกรรม

ทำให้หนูเข้าใจมากขึ้นค่ะ

som said...

ในนี้จะมีสัตว์ป่าคุุ้มครองไหมนะ

พรรณิภา น้อยพานิช said...

สวัสดีค่ะ


เข้ามาอ่านแล้วนะค่ะหนูได้รับความรู้มากมายเลยค่ะ
เนื้อหาของอาจารย์ดีมากๆๆเลยค่ะ


นางสาวพรรณิภา น้อยพานิช ตตบ 52/2 เลขที่ 25

อรอุมา said...

.........สวัสดีค่ะอาจารย์...........

........ได้มาทำความเข้าในเกี่ยวกับ.........
.....การวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม....
.........เนื้อหาเยอะมากค่ะ...........


นางสาวอรอุมา เจริญรูป ตตบ52/2 เลขที่ 11

ทอรุ้ง said...

เข้ามาอ่านเนื้อหาในบทนี้แล้วน่ะค่ะ หนูได้รับความรู้มากๆ เลยค่ะ


นางสาวทอรุ้ง กาฬภักดี เลขที่ 26 ตตบ.52/2