Thursday, August 20, 2009

มลพิษสิ่งแวดล้อม

ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อมนุษย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความหมายอาจอธิบายได้ 2 ลักษณะคือ
1) มลพิษสิ่งแวดล้อมในทางวิทยาศาสตร์หรือทางชีวภาพ หมายถึง “ สภาพแวดล้อมที่มีมลสาร (pollutants) ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ” หรือ “ ภาวะแวดล้อมที่มีสิ่งแวดล้อมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่มีมากเกินขีดจำกัดจนมีพิษภัยต่อมนุษย์ พืช และสัตว์ ” (carring capacity) และ หมายถึง “ ภาวะแวดล้อมที่มีความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดมีน้อยเพราะใช้มากเกินไป บางชนิดมีมาก ”
2) มลพิษสิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง “ ความผิดปกติในบุคคลหรือกลุ่มของบุคคลในสังคมนั้น “ จนทำให้สภาพสังคมเสื่อมสภาพไปจากเดิม หรือ “ ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่ตัวควบคุมทางสังคม (Social regulators) ขาดประสิทธิภาพหรือไม่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้สภาพสังคมมีแต่ปัญหา ไม่น่าอยู่อาศัย ที่มา: http://www.understandingplanetearth.in

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ . ศ . 2535 อธิบายเพิ่มเติมไว้ดังนี้
1) ภาวะมลพิษหมายถึงสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือปนเปื้อนโดยมลพิษทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมลง เช่นมลพิษ ทางน้ำ มลพิษทางดิน มลพิษทางอากาศ
2) แหล่งกำเนิดมลพิษ หมายถึง ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม สิ่งก่อสร้าง สถานที่ประกอบกิจการ ยานพาหนะ หรือสิ่งอื่นใดอันเป็นแหล่งที่มาของมลพิษ
3) ของเสีย หมายถึง ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร วัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่ถูกปล่อยทิ้งหรือมาจากแหล่งกำเนิดพิษ รวมถึง กาก ตะกอน สิ่งตกค้าง ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซ
4) น้ำเสีย (Wastewater) หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลว รวมทั้งมลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลว ส่วนน้ำทิ้ง (Effluent) คือน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้วและ / หรือไม่ได้รับการบำบัดซึ่งถูกระบายสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
5) อากาศเสีย หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นไอเสียกลิ่นควัน ก๊าซ เขม่า ฝุ่นละอองเถ้าถ่านหรือมลสารอื่นที่มีสภาพละเอียดเบาสามารถรวมตัวอยู่ในบรรยากาศได้
6) วัตถุอันตราย (Hazardous Waste) หมายถึง วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ สารออกซิไ ดซ์ สารเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่กำเนิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนเปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง วัตถุอื่นทั้งเคมีภัณฑ์และสิ่งอื่นที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อคน สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม
7) เหตุรำคาญ หมายถึง เหตุรำคาญตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
8) โรงงานอุตสาหกรรม หมายถึง โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
9) อาคาร หมายถึง อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
10) ยานพาหนะ หมายถึง รถยนต์ หรือจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เรือ ตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย และอากาศยานตามกฎหมายว่าด้วยอากาศยาน อบข่ายของมลพิษสิ่งแวดล้อม

ขอบข่ายของมลพิษสิ่งแวดล้อมขึ้นกับองค์ประกอบหลักของทรัพยากรเป็นสำคัญ ( ในระบบสิ่งแวดล้อม ) มลพิษที่เกิดอาจมีทางตรงหรือทางอ้อม เป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรือรังสี ซึ่งเกิดขึ้นกับ ดิน น้ำ อากาศ ทัศนียภาพ ฯลฯ ทั้งนี้สถานการณ์มลพิษสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยซึ่งมีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ติดตามและรายงานผล 10 ประเด็น ได้แก่ มลพิษทางอากาศ เสียง คุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มูลฝอย สารอันตราย ของเสียอันตราย การใช้ประโยชน์จากของเสีย เรื่องราวร้องทุกข์และการบริหารการจัดการมลพิษ พบว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วงโดย สวล . มก . ได้รวบรวมการเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมพอสรุปได้ดังนี้ 1) การใช้เทคโนโลยีที่ด้อยประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญในการก่อมลพิษสิ่งแวดล้อม กล่าวคือการใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมกับการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตเป็นสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษเกินค่ามาตรฐานและยังผลต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากการผลิตไม่สามารถให้ผลแบบยั่งยืนและกลับให้ผลผลิตต่ำ แต่ต้องลงทุนสูงเพราะสภาพธรรมชาติถูกทำลายจากการมีมลพิษเจือปนมาก เกินไป การเสื่อมสภาพของเทคโนโลยี ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ อาจทำให้เกิดการใช้ผิดประเภท เกิดผลเสียตามมา
2)การใช้ทรัพยากรไม่ถูกหลักวิชาการคือมีการใช้เกินกว่ากำลังผลิตตามธรรมชาติของทรัพยากรนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบทั้งด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน จนไม่สามารถเกิดทดแทนได้ทัน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดของเสียและมลพิษเข้าสู่ระบบ
3) มาตรการควบคุมไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมักละเลยการปฏิบัติและขาดการติดตามตรวจสอบ
4) ความกดดันทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง โดยเฉพาะความต้องการพัฒนาประเทศเน้นเศรษฐกิจสังคมโดยขาดความสนใจต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นรูปแบบการพัฒนาไม่ยั่งยืน กลับก่อมลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นมา
5) อุบัติเหตุจากการดำเนินการ เช่น เขื่อนพัง โรงงานอุตสาหกรรมเช่นโรงงานลำไยระเบิดที่เชียงใหม่ เป็นต้น มีส่วนอย่างมากในการสร้างปัญหาและมลพิษสิ่งแวดล้อม
6) ภัยธรรมชาติ เช่นภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม แผ่นดินไหว ปรากฏการณ์เอลนิโน ฯลฯ เป็นผลให้เกิดมลพิษและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม

ประเภทของมลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษสิ่งแวดล้อมสามารถเกิดได้ในหลายลักษณะต่างกันไปพอจะแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
1) มลพิษทางอากาศ มีตัววัดความเป็นมลพิษหรือดัชนีสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ CO, CO 2 , CO 4 , CH 4 , SO2, NO 2, CFC, ฝุ่นละออง หมอกควัน ความร้อน ลม ความชื้น แสงอาทิตย์
2) มลพิษทางน้ำ มีตัวดัชนีสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มคุณภาพน้ำทางกายภาพ เช่น ตะกอน ความขุ่น สี การนำไฟฟ้า กลิ่น ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เป็นต้น กลุ่มคุณภาพน้ำทางเคมี เช่น สารฆ่าแมลง ธาตุอาหาร โลหะหนัก เป็นต้น กลุ่มคุณภาพน้ำทางชีวภาพ เช่น แพลงค์ตอนสัตว์ แบคทีเรีย โปรโตซัว เป็นต้น
3) มลพิษทางเสียง ได้แก่ เสียง ความสั่นสะเทือน
4) มลพิษทางการเกษตร ดัชนีได้แก่ สารฆ่าแมลง โลหะหนัก พยาธิ เป็นต้น
5) มลพิษทางอุตสาหกรรม และอาหาร ดัชนีได้แก่ สารฆ่าแมลง โลหะหนัก พยาธิ สารปรุงแต่งอาหาร เป็นต้น ส่วนมากปนเปื้อนมากับน้ำ สัตว์และพืชที่นำมาประกอบอาหาร
6) มลพิษทางทัศนียภาพ เกิดจากการออกแบบให้องค์ประกอบหรือการจัดรูปแบบ ให้สีไม่กลมกลืนตามธรรมชาติ ได้แก่ แบบอาคาร การวางผังเมือง เป็นต้น รวมถึงสภาพที่ไม่น่าดูชม เกิดความสลดหดหู่ เช่น ภาพข่าวสงคราม สภาพอุทกภัย สภาพความแห้งแล้ง เป็นต้น
7) มลพิษทางสังคม มีดัชนีวัดต่าง ๆ กันไป เช่น ประชากร วัดด้วยจำนวนประชากรและความหนาแน่น เศรษฐกิจวัดจากรายได้ เงินออม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดูจากจำนวนคดีอาชญากรรม แหล่งโบราณสถาน วัดจากความโดดเด่นที่วัดระยะห่างเป็นรัศมีได้

20 comments:

ยุ้ยซ่า said...

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูเข้ามาอ่านแล้วเนื้อหาอ่านง่ายเข้าใจดีค่ะ

อาจารย์สอนสนุกมากขอบคุณค่ะ

น.ส.ปัทมาภรณ์ ผ่องภิรมย์ ตตบ.52/1 เลขที่ 25

ple^^ said...

ทุกวันนี้รอบตัวเรามีแต่มลพิษ

เราต้องรักษาสุขภาพเพื่อให้เกิด

ความปลอดภัยกับชีวิตตัวเอง

น.ส.สุภมาส ประสพผล ปตบ.50/2 เลขที่20

Ponlakrit said...

ดีมากๆๆ ครับ อ่านเข้าใจง่าย

Ponlakrit said...

ช่วยการเรียนรู้ของผมได้มาก ขอบพระคุณมากครับ

pleng said...

เข้าใจง่ายดีคะ

อ่านแล้วรู้เรื่องขึ้นเยอะเลยคะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ^^


นิตสา อณิสันฑ์ ตตบ. ๕๒/๑

supijon said...

ได้เข้ามาอ่าน มลพิษสิ่งแวดล้อมแล้วนะคับ

และได้ทำความเข้าเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม

นายรุ่งเรือง ผิวสำโรง เลขที่ 3 ห้อง ตตบ 52/2

supijon said...

อ่านแล้วคะมลพิษสิ่งแวดล้อม
อ่านง่ายเข้าใจง่ายดีมากคะ
น.ส. วรัญญา ขาวเจริญ ห้อง ตตบ.52/2 เลขที่ 33

bb said...

เนื้อหาครบถ้วนดี คับผม
บี ปตบ.50/2

pringlesbig said...

เข้าใจง่ายดีนะคับ

อ่านแล้วรู้เรื่องในสิ่งที่เรายังไม่รู้

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคับ

นายรติกร ตตบ.52/1 เลขที่ 16

วรรณวิศา said...

ผู้ที่สร้างมลพิษก็คือพวกเรา

เราควรใส่ใจรอบด้านให้มากยิ่งขึ้น

วรรณวิศา ปตบ50/2 เลขที่25

Happiness said...

อ่านและให้อาหารปลาเรียบร้อยครับ

นาย อนุสรณ์ สุกิจโกวิท ตตบ52/2 เลขที่ 6

Nipaporn (PUOY) said...

อ่านแล้วค่ะอาจารย์ทำให้ทราบว่ารอบตัว

ของหนูมีมลพิษหลายประเภทเหมือนกันนะค่ะ

นางสาวนิภาพร สมคิด ตตบ52/1 เลขที่17

poo said...

อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ

มลพิษเยอะขึ้นทุกวันนะค่ะ

หนูจะช่วยลดมลพิษเพื่อโลกค่ะ

น.ส. สุพรรวดี พุทรา ตตบ.52/1

ปัทมาภรณ์ ผ่องภิรมย์ ตตบ.52/1 เลขที่ 25 said...

สวัสดีค่ะอาจารย์

กลุ่มหนูไปศึกษาสัตว์สงวนและคุ้มครองมาแล้วค่ะ


สนุกมาก
เดินหารอบเลยค่ะ

ถ่ายรูปคนมากกว่าสัตว์อีกค่ะ

พรรณทิวา said...

ได้เข้ามาอ่านมลพิษสิ่งแวดล้อมแล้วคะ

นางสาวพรรณทิวา รักษ์สุวรรณ์ ตตบ52/2 เลขที่12

ทอรุ้ง said...

เข้ามาอ่านแล้วค่ะ รอบๆ ตัวเราก็มีมลพิษมาก เราก็ควรที่จะช่วยกันลดมลพิษอันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ได้กระทำขึ้นค่ะ

สวัสดีปีใหม่นะค่ะอาจารย์ ขอให้มีความสุขมากๆนะค่ะ

นางสาวทอรุ้ง กาฬภักดี เลขที่ 26 ตตบ.52/2

พรรณิภา น้อยพานิช said...

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูได้อ่านมลพิษสิ่งแวดล้อมแล้วค่ะ หนูจะช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อมค่ะ




นางสาวพรรณิภา น้อยพานิช ตตบ 52/2 เลขที่ 25

หน่อย said...

สวัสดีค่ะอาจารย์^^

เข้ามาอ่านแล้วน๊าคะ..ให้อาหารปลาสนุกมากเลย

กุสุมา บัวหอม ตตบ52/2 เลขที่ 4

หน่อย said...

^^สวัสดีคะอาจารย์

เนื้อหาดีมากเลยคะ

ณัฐพร ภูกองชัย ตตบ52/เลขที่ 28

-[feel]- said...

เข้ามาอ่านแล้วนะคับ

เนื้อหาดีมากเลยคับอาจารย์


นายขจรชัย ชัยปรีชา ตตบ52/1 เลขที่34