Thursday, August 20, 2009

การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่มา: http://klang.cgd.go.th

หลักการและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Conservation) หมายถึงการใช้สิ่งแวดล้อม อย่างมีเหตุผล เพื่ออำนวยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไปแก่มนุษย์ โดยมีแนวความคิดที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดผลอยู่ 6 ประการคือ
1) ต้องมีความรู้ในการที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ผลแก่มนุษย์ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษ และคำนึงถึงเรื่องความสูญเปล่าในการจะนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้
2) รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง ตระหนักเสมอ ว่าการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจะเป็นการไม่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ฉะนั้นต้องทำให้อยู่ในสภาพเพิ่มพูนทั้งด้านกายภาพและเศรษฐกิจ
3) รักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีสภาพเพิ่มพูนเท่ากับอัตราที่ต้องการใช้เป็นอย่าง น้อย
4) ประมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรได้ พิจารณาความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ 5) ปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิตและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ ทดแทนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชากร
6) ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดี โดยปรับความรู้ที่จะเผยแพร่ให้เหมาะแก่วัย คุณวุฒิ บุคคล สถานที่หรือท้องถิ่น ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นหนทางนำไปสู่อนาคตที่คาดหวังว่ามนุย์จะได้อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดีได้

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) การอนุรักษ์ (Conservation) หมายถึง การเก็บ สงวน รักษา ซ่อมแซม ปรับปรุง และการใช้ต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยให้ประโยชน์อย่างมีคุณภาพ สูงสุดแก่มนุษย์ในการตอบสนองความต้องการได้ตลอดไป ในระยะแรก การอนุรักษ์ใช้ในความหมายของการสงวน (To Preserve) คือการเก็บรักษาของที่หายากเอาไว้ ถ้านำมาใช้อาจเกิดผลเสียหายได้ และการป้องกันการสูญเสีย (Prevent Waste) คือการป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือ การนำมาใช้ให้พอเหมาะกับความต้องการไม่ให้มีส่วนสูญเสียไปเปล่า ๆ หรือใช้อย่างคุ้มค่า ต่อมาเมื่อทรัพยากรที่มีอยู่มากร่อยหรอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกามีการใช้ทรัพยากรมากจนเกิดปัญหา จึงมีการพัฒนาหาทางเพิ่มทรัพยากรที่มีน้อยให้เพิ่มพูนหรือฟื้นฟูทรัพยากรก่อนที่จะนำไปใช้ต่อในอนาคต ถ้ามีทรัพยากรอยู่แล้วก็ต้องหาทางให้มีใช้ตลอดไป (To Increase and Sustain the Supply) ดังนั้นพอสรุปความหมายสั้น ๆ ได้ว่า “ การอนุรักษ์ เป็นการใช้ตามความต้องการและประหยัดไว้เพื่อใช้ในอนาคต ” (Using for Immediate Needs and Saving for Future use)
2) ความคิดรวบยอดของการอนุรักษ์ (Concept of Conservation)การจะบรรลุเป้าหมายในการมีทรัพยากรธรรมชาติใช้ได้ตลอดไป มีหลักการทางอนุรักษ์วิทยาดังนี้
- ใช้อย่างฉลาด (Wise use) พิจารณาถึงผลได้ผลเสียก่อนนำทรัพยากรไปใช้ โดยคำนึงถึงชนิดหรือประเภท ปริมาณ ความขาดแคลนหรือหายากในอนาคตและหลักทางเศรษฐศาสตร์คือต้นทุนทางธรรมชาติและความคุ้มค่าในการนำทรัพยากรไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดและมีการสูญเปล่าน้อยที่สุด ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
- ประหยัดและสงวนของที่หายาก (Saving) ทรัพยากรใดที่มีอยู่น้อยหรือหายากต้องประหยัดไว้เพื่อไม่ให้สูญไป โดยหาสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน ส่วนที่พอจะมีใช้ได้ก็ไม่ควรฟุ่มเฟือย
- ซ่อมแซมปรับปรุงหาวิธีการฟื้นฟูทรัพยากรที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (Mending) ทรัพยากรที่เสี่ยงต่อการสูญเปล่าหรือหมดไปเนื่องจากมีสภาพเสื่อมโทรม ควรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นทั้งในส่วนชนิด ปริมาณ สัดส่วน การกระจาย เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ได้ตลอดไป

วิธีการรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีการอนุรักษ์ มีขั้นตอนดังนี้
1) กำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า
2) ดูแลรักษาทรัพยากรที่หายากหรือมีน้อย ให้อยู่ในสภาวะที่มากพอเสียก่อนจึงจะให้ใช้ทรัพยากรนั้น ๆ ได้
3) ผู้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทรัพยากรแต่ละอย่างจะมีความสัมพันธ์ต่อกันยากที่จะแยกจากกันได้
4) การเพิ่มผลผลิตของพื้นที่แต่ละแห่งควรจะต้องทำ
5) ต้องพยายามอำนวยให้สภาวะต่าง ๆ ดีขึ้น
ทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่ควรจะได้กระทำ เพื่อให้การอนุรักษ์ได้ผลตามเจตนารมย์ โดยไม่ลืมว่าวัตถุประสงค์สุดยอดของการอนุรักษ์คือ ต้องทำให้โลกนี้ดี (Rich) ให้ผลผลิตเหมือนเมื่อพบครั้งแรก (Productive) พยายามอย่าให้โลกทรุดโทรมหรือขาดแคลนทรัพยากร ตามคำกล่าวสนับสนุนที่ว่า “ ชาติที่จะเจริญรุ่งเรืองนั้นต้องรู้ว่าจะผลิตและสร้างทรัพยากรอย่างไรโดยปราศจากการทำลาย การอนุรักษ์จึงเป็นหัวใจของการพัฒนา ”
การที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อีกทั้งต้องมีความสนใจต่อการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งในด้านการปฏิบัติและการจัดการทรัพยากร รวมทั้งการขวนขวายหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม เพื่อการคงไว้ซึ่งทรัพยากร ทั้งนี้การมีความรู้เรื่องการอนุรักษ์จะช่วยให้รู้จักการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงการสูญเปล่า (Waste) และการทำลาย การสูญเปล่าตามหลักอนุรักษวิทยานั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ ขั้นผลิตกรรม (Production) และขั้นบริโภค (Consumption) แยกได้เป็น
1) การสูญเปล่าแบบสมบูรณ์ (Absolute Waste) ได้แก่การสูญเปล่าที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถกลับคืน เช่น การพังทลายของดินจากทั้งลมและน้ำ
2) การสูญเปล่าแบบเพิ่มพูน (Waste Plus) เป็นขบวนการสูญเปล่าที่รุนแรงคือนอกจากสูญเสียทรัพยากรต่าง ๆ แบบสมบูรณ์แล้ว ยังมีผลทำให้สิ่งหรือขบวนการอื่น ๆ สูญเปล่าไปด้วย เช่น การเกิดไฟฟ้า ทำลายต้นไม้ในป่าและยังสูญเสียปริมาณสัตว์ป่า สูญเสียดินและอื่น ๆ
3) การสูญเปล่าแบบสัมพันธ์ (Relative Waste) ได้แก่ การสูญเสียที่เกิดจาก การแสวงหาสิ่งหนึ่ง แต่ทำให้เกิดผลเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่น การทำเหมืองแร่ อาจทำให้เกิดการทำลายพืชพรรณธรรมชาติ ทำให้น้ำในลำธารขุ่นการเก็บของป่าอาจต้องทำลายหรือตัดฟันต้นไม้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากป่า อาทิ น้ำผึ้ง ยาสมุนไพร เป็นต้น
4) การสูญเปล่าแบบตั้งใจ (Organized Waste) ได้แก่การทำให้เกิดการสูญเปล่าโดยตั้งใจจะจัดการกับบางอย่าง เพื่อรักษาราคาหรือค่าทางเศรษฐกิจของทรัพยากรธรรมชาติ หรืออุตสาหกรรมไว้ให้ดีที่สุด เช่น การที่ประเทศบราซิลยอมทิ้งกาแฟลงในทะเลเพราะผลิตมากเกินไป จำเป็นต้องรักษาราคากาแฟให้เป็นไปตามต้องการ การเผาใบยาสูบทิ้งเพราะผลิตมากเกินไป การนำแอ๊ปเปิ้ลเทบนถนนให้รถบรรทุกบดเพื่อทำลาย เนื่องจากมีผลผลิตล้นตลาด
หลักการและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) ทรัพยากรของป่าไม้
1.1) ความหมายของป่าไม้ ป่าไม้ตามพรบ. ป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิครอบครองโดยกฎหมายที่ดิน นักวิชาการป่าไม้ให้คำนิยามว่า “ ป่า ” คือ สังคมของพืชที่อยู่รมกันเป็นกลุ่มมีเอกลักษณ์ทางโครงสร้างและ พฤติกรรมเฉพาะ “ ป่าไม้ ” คือ กลุ่มของพืชหรือต้นไม้ที่อยู่รวมกัน มีลักษณ์นิเวศวิทยาคล้าย ๆ กัน ต่างกันไปตามชนิดของป่า
ป่าในประเทศไทย แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 ประเภท คือ
- ป่าผลัดใบ ( Deciduous Forest ) ป่าที่สำคัญ มี เต็ง+รัง (ป่าแดง) และ ป่าเบญจพรรณ (ป่าผสมผลัดใบ)
- ป่าไม่ผลัดใบ ( Evergreen Forest ) ป่าที่สำคัญมี ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าชายเลน ขึ้นกระจายทั่วประเทศ ปัจจุบันถูกทำลายมาก
1.2) ประโยชน์ของป่าไม้
1) เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า
2) ป้องกันการพังทลายของดิน
3) ฝนตกต้องตามฤดูกาล
4) ป้องกันน้ำท่วม
5) เป็นเชื้อเพลิง
6) เป็นแหล่งสมุนไพร
7) เป็นวัสดุก่อสร้าง
8) เป็นแหล่งนันทนาการ
9) ควบคุมอุณหภูมิของอากาศ
10) ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำกระดาษ
11) เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ
12) เป็นที่หลบซ่อนของทหารเพื่อป้องกันประเทศ
1.3) สภาพปัญหาและสาเหตุ
- ปัญหาภายนอก ประชาชนต้องการทำกิน
- ปัญหาภายใน ปิดป่าแต่มีการลักลอบ มีความต้องาการใช้ไม้มากขึ้นเรื่อย ๆ ไฟไหม้ป่า ความเสื่อมโทรมของป่า จากการถูกทำลายทำให้ป่าไม้ฟื้นตัวไม่ทัน
- ปัญหาการผลิต ต้องตัดเฉพาะไม้ที่ได้ขนาด ตัดเฉพาะปริมาณส่วนเพิ่มพูน
- แต่ความเป็นจริง มีการตัดไม้มากกว่าปริมาณส่วนเพิ่มพูนหลายเท่าตัว ทำให้ป่าเสื่อมโทรมและถูกยึดครองไปทำกิจกรรมอื่น ผลผลิตของป่าไม้ = ส่วนเพิ่มพูนของป่า ( Forest Increment) เป็นส่วนที่เติบโตงอกเงยเป็นรายปี
1.4) แนวทางการอนุรักษ์
1) ควบคุมการสัมปทานป่า ให้เฉพาะที่เหมาะสมจริง ๆ ห้ามทำไม้ในป่าเสื่อมโทรมเด็ดขาด จนกว่าป่าจะฟื้นสภาพ
2) ปลูกป่าเพิ่มเติม โดยพิจารณาตามหลักวิชาการ
3) บำรุงป่าธรรมชาติที่ทรุดโทรม ให้ฟื้นคืนสภาพ
4) มีการป้องกันการลักลอบตัดไม้
5) พัฒนาพื้นที่ป่าควบคู่กับการพัฒนาชนบท (กรณีต้องการพื้นที่ป่าไม้ให้ประชาชน)



13 comments:

som said...

แวะเข้ามาดูค่ะ นี่นู่เข้ามาคนแรกหรือเปล่าน่า

หรือจาไม่ใช่

ple^^ said...

เราควรรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อรักษาสมดุลของโลกให้คงอยู่ต่อไป

น.ส.สุภมาส ประสพผล ปตบ.50/2 เลขที่20

supijon said...

บทนี้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพราะฉะนั้นทำความเข้าใจ
และปฏิบัติ ให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

นายรุ่งเรือง ผิวสำโรง เลขที่ 3 ตตบ 52/2

supijon said...

ถ้าเราทุกคนไม่อยากเป็นเหมือนในภาพยนต์เรื่อง2012 เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนะคะ
น.ส.วรัญญา ขาวเจริญ ห้อง ตตบ.52/2 เลขที่33

pringlesbig said...

โลกจะยังคงอยู่ได้

เราทุกๆคนจะต้องช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้กับพวกเราคับ

นายรติกร ตตบ.52/1 เลขที่ 16

วรรณวิศา said...

ประโยชน์ของป่าไม้มีมากมาย

ควรใช้อย่างฉลาด

วรรณวิศา ปตบ50/2 เลขที่25

Nipaporn (PUOY) said...

การอนุรักษ์ต้องให้ความรู้อย่างทั่วถึง

เพราะให้ความรู้แต่เด็กที่อยู่ใน ร.ร.

ไม่ได้ผลหลอกค่ะ

เพราะหนูเห็นในชุมชนบางแห่งเค้าก็ทำลายทรัพยากรกัน

ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ทั้งนั้นเลย

ถ้าภาครัฐรณรงค์ได้ทั่วถึงทั่วประเทศ

เราก็จะยังมีป่าไม้มีสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดไป

น.ส.นิภาพร สมคิด เลขที่17 ตตบ52/1

Nok.23 said...

เนื้อหาน่าสนใจมากคะ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่ถูกทำลาย
ถ้าพวกเราช่วยกันอนุรักษ์ไว้
โลกนี้ก็จะสวยงามตลอดไป
นางสาวสุธาทิพย์ วงค์คง
ตตบ.52/1 เลขที่ 29

Happiness said...

เนื้อหาสุดยอดเลยครับ

เข้าใจง่ายดีครับ

นายอนุสรณ์ สุกิจโกวิท ตตบ52/2 เลขที่6

poo said...

อ่านแล้วทำให้รู้สึกอยากจะอนุรักษ์ธรรมชาติให้มากกว่านี้

เพราะกลัวว่าในภายภาคหน้าจะไม่มีธรรมชาติเหลืออยู่

น.ส สุพรรวดี พุทรา ตตบ52/1

พรรณทิวา said...

โลกเราคงแย่แน่

ถ้าเราไม่อนุรักษ์

นางสาวพรรณทิวา รักษ์สุวรรณ์ ตตบ52/2 เลขที่12

อรอุมา said...

พวกเราจะต้องช่วยกันอนุรักษ์

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นางสาวอรอุมา เจริญรูป ตตบ52/2 เลขที่11

ทอรุ้ง said...

เข้ามาอ่านแล้วนะค่ะ เนื้อหาเยอะมาก ๆ ค่ะแต่ก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

นางสาวทอรุ้ง กาฬภักดี เลขที่ 26 ตตบ.52/2