Thursday, August 20, 2009

ทรัพยากรธรรมชาติ

ที่มา: http://www.geocities.com/kishan_nie/photos/butterfly1.jpg
ความหมายและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ป่าไม้ให้ประโยชน์ในการนำมาทำที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เชื้อเพลิง น้ำให้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค การเกษตร สัตว์ป่าให้ประโยชน์ในแง่การพักผ่อน นันทนาการ คุณค่าในการศึกษาหาความรู้ เป็นอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีธรรมยากรธรรมชาติอีกหลากหลายที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งหากมองว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็นำมาจากวัตถุดิบหรือต้นทุนทางธรรมชาติอาจให้ความหมายว่าทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็คือกลุ่มเดียวกัน ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)
ความหมายและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งแวดล้อมที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ก็คือทรัพยากรธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นทรัพยากร ธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหมายรวมถึง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ก็คือทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ใด ๆ ก็ตามแม้จะไม่มีประโยชน์ต่อมนุษย์อดีตและปัจจุบัน ก็อาจเป็นประโยชน์ในอนาคตได้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นความหมายของคำที่ใช้ จึงขึ้นกับว่าผู้ใช้ต้องการเน้นหรือพิจารณาในแง่ใดของการกล่าวถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มนุษย์เองก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่งเช่นกันและย่อมขาดการพึ่งพิงทรัพยากรชนิดอื่นไม่ได้ สภาวะธรรมชาติจึงมีทรัพยากรหลายสิ่งอยู่ร่วมกันเสมอโดยต้องมี ชนิด ปริมาณ สัดส่วน การกระจาย ที่เหมาะสมมีการปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้เข้าสู่ภาวะ สมดุลธรรมชาติ ทรัพยากรต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ต่อกันและพึ่งพากันเสมอ เมื่อสิ่งหนึ่งถูกกระทบหรือทำลายจึงเชื่อมโยงถึงสิ่งที่อยู่รอบข้างด้วย มีนักวิชาการกล่าวไว้ถึงการขาดแคลนทรัพยากรว่า“แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายให้ประชาชาติได้ใช้อยู่อย่างเพียงพอก็ตาม แต่ถ้าการใช้นั้นเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือยไม่มีแผนการแล้ว สักวันหนึ่งในอนาคตจะเกิดปัญหาการขาดแคลนได้ เพราะทรัพยากรร่อยหรอลงไปจากสาเหตุของการใช้อย่างไม่ประหยัด ไม่ระมัดระวัง หรือไม่เป็นไปตามความจำเป็น หรืออาจมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นการลดการเพิ่มพูน มีบางสิ่งบางอย่างถูกทำลายจนสูญพันธุ์
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
ในโลกนี้มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายทั้งในอากาศ บนผิวโลก ใต้ผิวโลก มีสภาพทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ บางชนิดมีการเจริญเติบโตได้ บางชนิดไม่เติบโตแต่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เกิดการผุพังสลายไป นักอนุรักษ์วิทยาได้แบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติไว้ 3 ประเภทคือ
1) ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) หรือทรัพยากรธรรมชาติที่มีใช้ตลอด (Inexhuastible Natural Resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ บางชนิดมนุษย์ขาดเป็นเวลานานได้ บางชนิดขาดไม่ได้แม้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็อาจถึงตายได้ ทรัพยากรดังกล่าวได้แก่ก) อากาศ มีอยู่อย่างสมบูรณ์ในโลก จำเป็นและสำคัญต่อมนุษย์ สัตว์ พืช สิ่งมีชีวิตทุกชนิดข) น้ำ (ในวัฏจักร) หมายถึง น้ำในลักษณะการเก็บน้ำแล้วแปรสภาพเป็นน้ำไหลบ่า น้ำท่า น้ำในลำน้ำ น้ำใต้ดิน น้ำขัง และน้ำในมหาสมุทร มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต มีการหมุนเวียน ไม่จบสิ้น โดยทั่วไปมีปริมาณคงที่ในแต่ละแห่งของแต่ละปี นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรแสงอาทิตย์ ดิน ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
2) ทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ (Replaceable or Renewable Natural Resources) เป็นทรัพยากรที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ในการดำรงชีพเพื่อตอบสนองปัจจัยสี่และความสะดวกสบาย เมื่อใช้แล้วสามารถเกิดทดแทนขึ้นได้ ซึ่งการทดแทนนั้นอาจใช้ระยะเวลาสั้นหรือยาวนานไม่เท่ากัน ทรัพยากรดังกล่าวได้แก่
ก) น้ำที่ใช้ได้ หมายถึงน้ำในที่ใดที่หนึ่งเมื่อใช้หมดแล้ว จะมีการทดแทนได้ด้วยฝนที่ตกตามปกติ ในแต่ละแห่งจะมีฝนตกเกือบเท่า ๆ กันในแต่ละปี นอกจากเกิดความแห้งแล้งผิดปกติเท่านั้น
ข) ดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่ให้อาหารเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ซึ่งกำเนิดจากพื้นดิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดดิน คือ หิน อากาศ พืช ระยะเวลา ลักษณะภูมิประเทศ การทดแทนต้องใช้ระยะเวลานานนอกจากนี้ยังมีทรัพยากรชนิดอื่นอีก เช่น ทรัพยากรประมง ทรัพยากรเกษตร (พืชผัก เนื้อสัตว์) พืช สัตว์ป่า ป่าไม้ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
3) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) หรือทรัพยากรที่ไม่สามารถทดแทนได้ (Irreplaceable Natural Resources) เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถจะทำมาทดแทนได้เมื่อใช้หมดไป เช่น แร่ โลหะ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน เป็นต้น ซึ่งทรัพยากรดังกล่าวจำเป็นมากต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอกจากนี้พื้นที่ในลักษณะธรรมชาติ (Land in Natural Condition) ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ทดแทนไม่ได้ เพราะเมื่อถูกทำลายลงแล้ว ไม่สามารถทำให้เหมือนสภาพเดิมได้ทั้งในส่วนประกอบต่าง ๆ และทัศนียภาพ
หากจำแนกทรัพยากรหลักที่มนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์เป็นประจำในชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อโครงสร้างและหน้าที่ในระบบนิเวศ อาจจำแนกเป็น
ที่มา: www.ertc.deqp.go.th

ทรัพยากรน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไปมีหมุนเวียนในวัฏจักร เป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มนุษย์ใช้สอยน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวัน ชำระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหาร เป็นปัจจัยในขบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม นอกจากนี้ ความสำคัญของน้ำยังใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง การพักผ่อนหย่อนใจ การประมง เพื่อเป็นแหล่งอาหารเสริมของสัตว์และพืชน้ำ เป็นตัวรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศ เป็นต้น



ที่มา: http://www.kasetcity.com

ทรัพยากรดิน ดินเป็นทรัพยากรที่มนุษย์มีความคุ้นเคยมากที่สุด และ มความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด จะพึ่งพาอาศัยดิน เพื่อความอยู่รอด ดังนั้น ดินจึงมีความสำคัญในด้านการเกษตรกรรม เป็นแหล่งเพาะปลูกเพื่อสร้างปัจจัยสี่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในการสร้างบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นแหล่งสะสมและอาศัยอยู่ของทรัพยากรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งน้ำ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สำหรับในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์ ที่ดินแตกต่างกันไปในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถนะที่ดินเป็นสำคัญ


ที่มา: http://gotoknow.org


ทรัพยากรป่าไม้ มีความสำคัญมากที่ได้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะประโยชน์ทางอ้อมนับว่าสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากทรัพยากรป่าไม้ได้ถูกทำลายลงไปมากจากการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในด้านประโยชน์ทางตรง มนุษย์ใช้ป่าไม้ในการผลิตปัจจัยสี่ ที่มีความ จำเป็นต่อการดำรงชีพ ไม่ว่าจะนำไปสร้างที่อยู่อาศัย เป็นอาหาร ยารักษาโรคและเครื่องนุ่งห่ม ในส่วนประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในบรรยากาศ ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น บรรเทาความรุนแรงของลมพายุ ป้องกันการพังทลายของดิน บรรเทาอุทกภัย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ)

ที่มา: http://imagecache5.art.com


ทรัพยากรสัตว์ป่า สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มานานแล้วในอดีต แม้ว่ามนุษย์จะเจริญขึ้นและมีอาชีพใหม่ปรากฏขึ้นมา แต่ความสำคัญของสัตว์ป่าก็มิได้ลดน้อยถอยลงไปแต่อย่างใด ความสำคัญของสัตว์ป่า ได้แก่ ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ในส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ด้านวิชาการสัตว์ป่านำมาทดลองด้านวิทยาศาสตร์ ค้นคว้า วิจัย นำผลงานมาประยุกต์ใช้กับมนุษย์ ด้านการรักษาความงาม ความเพลิดเพลิน คุณค่าทางด้านจิตใจ โดยสัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติ ดูมีชีวิตชีวาขึ้น ส่งผลให้มนุษย์ได้ ใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจจากความจำเจความเกลียดและ เบื่อหน่ายจากธุรกิจ การงาน ทั้งยังมีคุณค่าทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะเห็นได้จากหลายประเทศได้ให้ของขวัญแก่กันโดยใช้สัตว์ป่า

ที่มา: http://province.prd.go.th

ทรัพยากรประมง ในทางประมง ทรัพยากรด้านนี้ ความสำคัญต่อมนุษย์หลัก ๆ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ในด้านเป็นอาหารทั้งโดยตรง หรือการแปรรูป จากสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์ด้านค้าขาย จำหน่ายภายในและภายนอกประเทศ นำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศ ทั้งยังมีคุณค่าใช้เป็นยา พื้นบ้าน เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ ให้ความเพลิดเพลิน และความสวยงาม ซึ่งมีผลในด้านจิตใจของมนุษย์อีกด้วย


ที่มา: www.grandprixgroup.com

ทรัพยากรพลังงาน พลังงานมีความสำคัญอย่างมากสำหรับมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรงมนุษย์ได้พลังงานจากแสงแดด จากอาหารเพื่อสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย อันหมายถึง การดำรงชีพ การเจริญเติบโตของชีวิต ส่วนทางอ้อมมนุษย์ใช้พลังงานเป็นตัวแทนในการช่วยเหลือการทำงานต่าง ๆ เพื่อความเป็นอยู่สะดวกสบายเพิ่มขึ้น ประเทศไทยได้ใช้พลังงานในรูปต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่ใช้พลังงานในรูปของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รองลงมาเป็นพลังงานน้ำ ชานอ้อย ถ่านหิน และไม้ฟืนตามลำดับ
ที่มา: http://school.obec.go.th/

ทรัพยากรแร่ แร่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจและนิเวศวิทยา ซึ่งในเชิงเศรษฐกิจแล้วแร่เป็นวัตถุดิบและเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ถ่านหิน ลิกไนต์ ใช้ในการผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ ในเชิงนิเวศวิทยา ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแร่อโลหะ เช่น โพแทส เกลือหิน ที่นำมาผลิต ปุ๋ย เพิ่มธาตุอาหารในพืช อันเป็นตัวสนับสนุนการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์และการมีชีวิตอยู่ของผู้ผลิต

ที่มา: http://www.nowthemagazine.net/


ทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์เป็นทรัพยากรประเภทที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและทดแทนใหม่ได้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้เช่นเดียวกันกับทรัพยากรอื่น ๆ จึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีชีวิต อันเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศ เนื่องจากมีสมองและพัฒนาความคิดนำมาสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย คุณค่าหรือความสำคัญของมนุษย์ ได้แก่ ความสามารถในการนำทรัพยากรอื่น ๆ มาใช้อย่างชาญฉลาด การศึกษาดี มีวัฒนธรรมที่เหมาะสม สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็จะช่วยพัฒนาประทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

23 comments:

som said...

ทรัพยากรนั่นมีหลายอย่างจิงๆ

Bumppp said...

อ่านแล้วคร้าบอาจาน
มาคนที่ 2 เลยหรอเนี่ย
แหะๆ
ผมเขึยนเรื่องทรัพยากรไปอ่าอาจาน

ple^^ said...

มนุษย์ก็ถือเป็นทรัพยากรด้วยนะ

เป็นทรัพยากรที่สำคัญด้วย

น.ส.สุภมาส ประสพผล ปตบ.50/2 เลขที่20

supijon said...

สวัสดีค่ะอ.สุดสวย

หนูชื่อนางสาวลลิดา ทำสวน ตตบ.52/2

ค่ะ

supijon said...

ได้มาอ่านเนื้อหาแล้วนะคับ

เข้าใจมากขึ้นคับ

นายรุ่งเรือง ผิวสำโรง เลขที่3 ห้อง ตตบ 52/2

supijon said...

เนื้อหาดีเข้าใจง่ายค่ะ

น.ส. วรัญญา ขาวเจริญ เลขที 33 ตตบ.52/2

ยุ้ยซ่า said...

สวัสดีค่ะ
อ่านแล้วทำให้เราต้องรักษาทรัพยากรที่มีคุณค่าไว้ค่ะ


น.ส.ปัทมาภรณ์ ผ่องภิรมย์ ตตบ.52/1 เลขที่25

pleng said...

ถ้าเรารักษาทรัพยากรตอนนี้

มันจะทันมั้ยคะ อาจารย์ขา ^^

ข้อมูลอาจารย์ดีมากเลยคะ เข้าใจง่ายดี
หนูเอาไว้สอนน้องได้เลยคะ ๕๕

นิตสา อณิสันฑ์ ตตบ. ๕๒/๑

หน่อย said...

สวัสดีค่ะอาจารรย์
...แวะมาทักทายค่ะ..
ณัฐพร ถูกองชัย เลขที่ 28 ตตบ.52/2

หน่อย said...

^-^ ส วั ส ดี ค่ะ อ า จ า ร ย์
ถ้าโลกเราไม่มีธรรมชาติพวกเราคงแย่แน่เลย
กุสุมา บัวหอม เลขที่ 4 ตตบ.52/2

janjao_bas said...

ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความรู้..
ทำให้เข้าใจง่ายดีค่ะ...
ชอบอ่ะ..
ชลมณฑ์ แสงสวัสดิ์ เลขที่ 28 ตตบ.52/1

janjao_bas said...

ได้เห็นธรรมชาติ...
แล้วอยากเรียนรู้ธรรมชาติ...
เลยครับ..ขอบคุณคับ

อนุสรณ์ สุกิจโกวิท เลขที่6

janjao_bas said...

ได้เห็นธรรมชาติ...
แล้วอยากเรียนรู้ธรรมชาติ...
เลยครับ..ขอบคุณคับ

อนุสรณ์ สุกิจโกวิท เลขที่6 ตตบ.52/2

Happiness said...

ทีเด็ดมากเลยค่ะอาจารย์

สุโค่ย

นางสาว มณฑรส ก๋งมีประเสริฐ ตตบ52/2 เลขที่23

Happiness said...

เข้าใจธรรมชาติแล้วเรา

นางสาว ทอรุ้ง กาฬภักดี ตตบ 52/2 เลขที่26

น.ส มนัชฌา ม่วงศรี said...

อ่านแล้วค่ะอาจาร
มีความรู้ดีค่ะ
น.ส มนัชฌา ม่วงศรี ตตบ 52/2 เลขที่37

supijon said...

อ่านแล้วคะอาจารย์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ
รักธรรมชาติขึ้นเยอะเลยคะ
น.ส. วรัญญา ขาวเจริญ ห้อง ตตบ.52/2 เลขที่33

นางสาวศิริรัช คุ้มกล่ำ said...

หนูได้อ่านเนื้อหาแล้วค่ะอาจารย์
เรื่องของการจัดทรัพยากรค่ะ
นางสาวศิริรัช คุ้มกล่ำ เลขที่ 24 ตตบ52/1

pringlesbig said...

อ่านแล้วรู้สึกรักธรรมชาติเลยคับ
ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้คับ
นายรติกร ตตบ.52/1 เลขที่ 16

Nipaporn (PUOY) said...

อ่านแล้วค่ะอาจารย์
ทำให้ต่อไปต้องระมัดระวัง
ในเรื่องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น
เพราะถ้าใช้ทรัพยากรมากเกินไป
ก็อาจจะทำให้ไม่มีทรัพยากรที่ดีมีประโยชน์ใช้ในอนาคตได้
นางสาวนิภาพร สมคิด เลขที่ 17 ตตบ.52/1

น.ส.เสาวลีย์ สุขแก้ว ตตบ.52/1 said...

ดีค่ะอาจารย์


เรียนกับอาจารย์สนุกมากค่ะ

พรรณทิวา said...

ได้รู้หลายๆๆๆเรื่อง

เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ

นางสาวพรรณทิวา รักษ์สุวรรณ์ ตตบ52/2 เลขที่12

อรอุมา said...

อ่านแล้วเข้สใจดีคะ

นางสาวอรอุมา เจริญรูป ตตบ52/2 เลขที่11